วันอังคารที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2555

การเดินทาง เพื่อความดี ตอนที่ ๒

 ทำสิ่งที่ควรทำ เว้นสิ่งที่ควรเว้น

การเดินทางร่วมกับทีมงานแพทย์อาสา สู่บ้านแม่ลายใต้ อ.ฮอด จ.เชียงใหม่


     หลังจากที่แวะชมฟาร์มแกะกันแล้ว ต่อมาก็เป็นเป้าหมายแรกที่วางกันไว้


     พระธาตุลำปางหลวง อ.เกาะคา จ.ลำปาง โดยก่อนแวะชมก็พักรับประทานอาหารกัน ที่ตลาดเกาะคา ต้องทำใจเรื่องของความเร็ว เพราะที่นี่เค้าไม่ค่อยเร่งรีบกันเท่าไหร่ จะแตกต่างกับคน กทม.ที่รีบเร่งไปทุกหย่อมหญ้า คนมีรถก็ต้องรีบไปแต่เช้าเพื่อให้ได้ที่จอดรถ คนไม่มีรถก็ต้องไปแต่เช้ารถจะได้มีที่ว่างให้นั่ง คิดไปแล้วก็น่าสงสารคน กทม.ซะจริง ๆ




ด้านหน้าพระธาตุลำปางหลวง
    
      ตามธรรมเนียมที่จะต้องถ่ายภาพร่วมกัน โดยมีฉากหลังเป็นพระธาตุลำปางหลวง ตรงนี้เป็นสระน้ำ และตลาดของที่ระลึก ลานจอดรถ ร้านอาหาร เป็นบริเวณที่ใหญ่มาก สำหรับรับนักท่องเที่ยวมาแวะชม สักการะ องค์พระธาตุ 


     จุดเด่นอีกอย่างคือพระธาตุกลับหัว ที่เป็นภาพตกสะท้อนบนผืนผ้าขาว เห็นพระธาตุกลับบน-ล่าง  ผลเกิดจากการหักเหของแสง ไม่ได้เป็นปาฎิหารย์แต่อย่างใด






อุโบสถวัดพระธาตุลำปางหลวง










     ด้านข้างจะเป็นอุโบสถวัดพระธาตุลำปางหลวง 
มีลวดลายสวยงามเน้นสีเหลืองทอง กับพื้นสีแดง ลักษณะที่สะดุดตาก็คือ ความช่างคิดของช่างทำลวดลาย เค้าสามารถจะใส่ลวดลายได้ในทุกพื้นที่ จนดูเต็มไปหมด ก็แปลกตาไปอีกแบบ
     ตรงราวบันไดก็เป็นพญานาคตัวใหญ่ เกล็ดสีทองเหลืองอร่ามเชียว
    ดูจากสีแล้ว เข้าใจว่าเป็นการบูรณะขึ้นมาใหม่ 
ด้านข้างจะมีชมรมผู้สูงอายุ อ.เกาะคาทำกิจกรรมต่าง ๆ กันอยู่  แสงแดดตอนเกินเที่ยงนี่แรงจริง ๆ




ศาลาด้านหน้าองค์พระธาตุ



     เดินขึ้นบันไดไป พอพ้นประตูก็จะเห็นด้านหน้าของ
ศาลาหน้าองค์พระธาตุ ทำด้วยไม้ทั้งหลัง ลวดลาย
สลักเสลาสวยงาม เป็นศิลปะล้านนา











ภายในศาลาด้านหน้าองค์พระธาตุ
















พระธาตุลำปางหลวง

พระธาตุลำปางหลวง ตั้งอยู่ที่บ้านลำปางหลวง ต.ลำปางหลวง อ.เกาะคา จ.ลำปาง โดยมีพระบรมธาตุลำปางหลวงเป็นเจดีย์ทรงกลมแบบล้านนา มีฐานกว้างด้านละ ๑๒ วา สูง ๒๒ วา ๒ ศอก ยอดฉัตรทำด้วยทองคำ มีกำแพงแก้วลูกกรงสัมฤทธิ์ยอดดอกบัวล้อมเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส องค์พระเจดีย์ภายนอกบุด้วยแผ่นทองเหลืองทองแดงติดทองคำเปลว เรียกว่า ทองจังโก แผ่นโลหะเหล่านี้มีลายสลักดุนเป็นลายประจำยามแบบต่าง ๆ ไม่ซ้ำกันแม้แต่แผ่นเดียว เป็นแบบอย่างลวดลายศิลปะล้านนาไทยที่ประมวลกันอยู่มากที่สุด ณ ที่เดียวกัน ภายในองค์พระเจดีย์บรรจุเส้นพระเกษา และพระอัฐิธาตุพระนลาฎข้างขวา พระอัฐิธาตุพระศอลำคอด้านหน้าด้านหลัง ที่พระกุมาระกัสสปะเถระเจ้า และพระเมขิยะเถระเจ้าอัญเชิญมาประดิษฐานไว้ องค์พระบรมธาตุเจดีย์ได้รรับการบูรณะซ่อมแซมจากเจ้าผู้ครองนครลำปางมาหลายยุคหลายสมัย โดยครั้งหลังสุดบูรณะเมื่อปี พ.ศ.๒๐๓๙ เจ้าหาญศรีอัตตะเป็นผู้บูรณะตราบจนปัจจุบัน



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น